คำอุทาน

คำอุทาน
คำอุทาน  หมายถึง  คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด
คำอุทานแบ่งเป็น ๒ จำพวก ดังนี้
๗.๑ อุทานบอกอาการคือ คำอุทานที่ผู้พูดเปล่งออกมา  เพื่อให้รู้จักอาการและความรู้สึกต่างๆ ของผู้พูด  เวลาเขียนมักนิยมใช้เครื่องหมาย !(อัศเจรีย์)   กำกับไว้หลังคำนั้น  เช่น
ตัวอย่าง
๑. แสดงอาการร้องเรียกหรือบอกให้รู้ตัว   ได้แก่  แน่ะ!,นี่แน่ะ!,เฮ้!,เฮ้อ!
๒. แสดงอาการโกรธเคือง
 ได้แก่ เหม่!,อุเหม่!,ฮึ่ม!,ชิชะ!,ดูดู๋!
๓.แสดงอาการตกใจ  ได้แก่ ว้าย!,ตาย !,ช่วยด้วย !,คุณพระช่วย!
๔.แสดงอาการประหลาดใจ ได้แก่ ฮ้า !,แหม!,โอ้โฮ!,แม่เจ้าโว้ย!
๕.แสดงอาการสงสารหรือปลอบโยน ได้แก่
 โถ!,โธ่!,อนิจจัง!,พุทโธ่!
๖.แสดงอาการเข้าใจหรือรับรู้
 เช่น อือ!,อ้อ!,เออ!,เออน่ะ!
๗.แสดงอาการเจ็บปวด
  เช่น อุ๊ย!,โอย!,โอ๊ย!
๘.แสดงอาการดีใจ เช่น ไชโย
!
๗.๒ คำอุทานเสริมบท
ตัวอย่าง
แบ่งเป็น ๒ ประเภท  คือ
๑.คำที่กล่าวเสริมขึ้นเพื่อให้คล้องจอง หรือมีความหมายในการพูดดีขึ้น เช่น หนังสือ,หนังหา,ส้มสุกลูกไม้,กางกุ้งกางเกง ฯลฯ
๒.คำที่แทรกลงในระหว่างคำประพันธ์  เพื่อให้เกิดความสละสลวยและให้มีคำครบถ้วนตามต้องการในคำประพันธ์นั้นๆ  คำอุทานชนิดนี้ใช้     เฉพาะในคำประพันธ์   ไม่นำมาใช้ในการพูดสนทนา  เช่น  อ้า ,โอ้ ,โอ้ว่า,แล,นา,ฤา , แฮ, เอย ,เฮย ฯลฯ
หน้าที่ของคำอุทาน  มีดังนี้คือ
๑.  ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด
ตัวอย่าง

ตายจริง!  ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา

โธ่! เธอคงจะหนาวมากละซิ


เอ๊ะ! ใครกันที่นำดอกไม้มาวางไว้ที่โต๊ะของฉัน
๒.  ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ  ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท
ตัวอย่าง

ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป

เมื่อไรเธอจะหางหางานทำเสียที

เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร
๓.  ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์
ตัวอย่าง

แมวเอ๋ยแมวเหมียว

มดเอ๋ยมดแดง

กอ เอ๋ย กอไก่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น